เวลาทำงานปกติ คือวันที่กำหนดให้ ลูกจ้างทำงานในเวลาทำงานปกติ ต้องมีเวลาพักไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
วันหยุด คือ วันที่กำหนดให้ ลูกจ้างหยุดงาน ซึ่งได้ แก่วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจาปี และวันหยุดประจำสัปดาห์
การทำงานล่วงเวลา คือ การทำงานนอกเวลาทางานปกติหรือเกินไปกว่าเวลาทำงานปกติในวันทำงานหรือวันหยุดซึ่งอาจเป็นการทำงานในช่วงก่อนหรือหลังเวลาทำงานปกติ
ค่าล่วงเวลา
นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ แบ่งเป็น
1. ค่าล่วงเวลาในวันทำงาน
2. ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
ค่าตอบแทนในการทำงาน
นายจ้างต้องจ่ ายค่าตอบแทนในการทำงานให้ ลูกจ้างที่ทำงานตามเวลาทำงานปกติในวันทำงานและในวันหยุด นอกเวลาทำงานในวันทำงานและในวันหยุด ซึ่งเรียกแตกต่างกันดังนี้
1. ค่าจ้าง
2. ค่าทำงานในวันหยุด
3. ค่าล่วงเวลา
ประเภทของค่าจ้าง
แบ่งเป็น
1.ค่าจ้างตามเวลา ได้แก่
รายชั่วโมง คิดตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน
รายวัน คิดตามจำนวนวันที่ทำงาน
รายเดือน เป็นสินจ้างที่คำนวณจ่ายเป็นรายเดือนในลักษณะเหมาจ่าย รวมทั้งวันทำงานและวันหยุด ในการคิดค่าจ้างต่อวัน หรือต่อชั่วโมงของค่าจ้างรายเดือนจะกำหนดให้ 1 เดือน เท่ากับ 30 วัน
ค่าจ่างต่อวัน = ค่าจ้างรายเดือน
30
ค่าจ้างต่อชั่วโมง = ค่าจ้างต่อวัน
จำนวนชั่วโมงที่ทำงานใน 1 วัน
เช่น นาย ก เป็นลูกจ้างรายเดือนได้รับเงินเดือนประจำเดือน เดือนละ 6000 บาท โดยบริษัทกำหนดให้ทำงาน 8 ชั่วโมง ใน 1 วัน
ค่าจ้างรายเดือน เท่ากับ 6000 บาท
ดังนั้น ค่าจ้างรายวัน เท่ากับ 6,000 = 200 วัน
30
ดังนั้น ค่าจ้างรายชั่วโมง เท่ากับ 200 = 25 บาท
8
2. ค่าจ้างตามผลงาน เป็นสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้ตามแต่จะตกลงกัน
ตัวอย่างที่ 1 นาย ข เป็นลูกจ้างรายชั่วโมง ชม.ละ 40 บาท เวลาทำงานปกติวันละ 8 ชม. ถ้าในเดือนนี้ นาย ข ทำงาน 26 วัน จะได้ค่าจ้างในเดือนนี้เท่าไร
วิธีทำ นาย ข ได้รับค่าจ้างวันละ = 40*8 = 320 บาท
ในเดือนนี้ นาย ข ทำงาน 26 วัน ได้ค่าจ้าง = 320*26 = 8,320 บาท
ดังนั้น นาย ข จะได้ค่าจ้างในเดือนนี้เท่ากับ 8,320 บาท
ตัวอย่างที่ 2 นาย ค เป็นลูกจ้างรายเดือน เดือนละ 8,400 บาท เวลาทำงาน 8.00 – 16.00 น. พัก 12.00 – 13.00 น. จงหาค่าจ้างต่อวันและค่าจ้างต่อชั่วโมง
วิธีทำ นาย ค ได้รับเงินเดือน เดือนละ 8,400 บาท
ดังนั้น ค่าจ้างต่อวัน เท่ากับ 8,000 = 280 บาท
30
เวลาทำงาน 8.00 – 16.00 น. พัก 12.00 – 13.00 น.
ดังนั้น ใน 1 วัน ทำงานทั้งสิ้น 7 ชม.
ตอบ ค่าจ้างต่อชั่วโมง เท่ากับ 280 = 40 บาท
7
การหาค่าทำงานในวันหยุด
การกำหนดอัตราค่าทำงานในวันหยุด
1. ถ้าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดอยู่แล้ว จะได้ค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างที่ทำงานปกติ (การคำนวณจะใช้อัตรา 1 เท่า )
2. ถ้าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด จะได้รับค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างที่ทำงานปกติ (การคำนวณจะใช้อัตรา 2 เท่า)
ตัวอย่างที่ 4
วิธีทำ 1. ถ้านาย ฉ มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดอยู่แล้ว
จะได้ค่าทำงานในวันหยุด 1 เท่า คือ ได้วันละ 300 บาท ทำวันหยุด 2 วัน ดังนั้น ค่าทำงานวันหยุด = 300*2 = 600 บาท
2. ถ้า นาย ฉ ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด
จะได้ค่าทำงานในวันหยุด 2 เท่า คือ ได้วันละ 300*2 = 600 บาท
ดังนั้น ค่าทำงานในวันหยุด 2 วัน = ุ600*2 = 1,200 บาท
ตัวอย่างที่ 5 นาย ช เป็นลูกจ้างรายเดือน เดือนละ 6,000 บาท โดยทำงานวันละ 8 ชม. ในเดือนนี้ทางบริษัทให้ นาย ช มาทำงานในวันหยุด 3 วัน วันละ 2 ชม. จงหาค่าทำงานในวันหยุด ถ้า นาย ช ไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุด
วิธีทำ นาย ช มีเงินเดือน เดือนละ 6,000 บาท
ค่าจ้างต่อวัน = 6,000 = 200 บาท
30
ค่าจ้างต่อชั่วโมง = 200 = 25 บาท
8
นาย ช มาทำงานวันหยุด 3 วัน วันละ 2 ชม. รวม 6 ชม.
นาย ช ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างวันหยุด
จะได้ค่าจ้างในวันหยุด 2 เท่า จะได้ชั่วโมงละ 25*2 = 50 บาท
ดังนั้น นาย ช จะได้ค่าทำงานวันหยุด = 50*6 = 300 บาท
ค่าทำงานในวันหยุด
1. ถ้าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดอยู่แล้ว จะได้ค่าทำงานในวันหยุด 1 เท่า ของปกติ
2. ถ้าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด จะได้ค่าทำงานในวันหยุด 2 เท่า ของปกติ
ค่าล่วงเวลา
การกำหนดอัตราค่าล่วงเวลา
1. ถ้าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานจะได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของค่าจ้างปกติ
2. ถ้าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะได้รับค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างปกติ
ตัวอย่างที่ 6
วิธีทำ นายแดงได้รับเงินเดือน เดือนละ 8,400 บาท
ค่าจ้างต่อวัน = 8,400 = 280 บาท
30
ทำงานวันละ 7 ชม.
# ค่าจ้างต่อชั่วโมง = 280 = 40 บาท
7
ค่าล่วงเวลาในการทำงาน (วันจันทร์) จะได้ 1.5 เท่าของค่าจ้างปกติจะได้ ชม.ละ 40*1.5 = 60 บาท
ทำงานล่วงเวลาวันจันทร์ 3 วัน วันละ 2 ชม. รวม 6 ชม. ค่าล่วงเวลา = ุ60*6= 360 บาท
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด (วันอาทิตย์) จะได้ 3 เท่าของค่าจ้างปกติ
ทำงานล่วงเวลาวันอาทิตย์ 2 วัน วันละ 2 ชม. รวม 4 ชม. ค่าล่วงเวลา = 120*4 = 480 บาท
ดังนั้น ในเดือนนี้ นายแดงได้ค่าล่วงเวลา = 360+480 = 840 บาท
1. ถ้าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานจะได้ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของปกติ
2. ถ้าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จะได้ค่าล่วงเวลา 3 เท่าของปกติ
การกำหนดอัตราค่าล่วงเวลา
1. ถ้าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานจะได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของค่าจ้างปกติ
2. ถ้าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะได้รับค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างปกติ
ตัวอย่างที่ 6
วิธีทำ นายแดงได้รับเงินเดือน เดือนละ 8,400 บาท
ค่าจ้างต่อวัน = 8,400 = 280 บาท
30
ทำงานวันละ 7 ชม.
# ค่าจ้างต่อชั่วโมง = 280 = 40 บาท
7
ค่าล่วงเวลาในการทำงาน (วันจันทร์) จะได้ 1.5 เท่าของค่าจ้างปกติจะได้ ชม.ละ 40*1.5 = 60 บาท
ทำงานล่วงเวลาวันจันทร์ 3 วัน วันละ 2 ชม. รวม 6 ชม. ค่าล่วงเวลา = ุ60*6= 360 บาท
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด (วันอาทิตย์) จะได้ 3 เท่าของค่าจ้างปกติ
ทำงานล่วงเวลาวันอาทิตย์ 2 วัน วันละ 2 ชม. รวม 4 ชม. ค่าล่วงเวลา = 120*4 = 480 บาท
ดังนั้น ในเดือนนี้ นายแดงได้ค่าล่วงเวลา = 360+480 = 840 บาท
1. ถ้าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานจะได้ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของปกติ
2. ถ้าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จะได้ค่าล่วงเวลา 3 เท่าของปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น